เกี่ยวกับเภสัชกรรม

ยาที่ไม่ควรบริโภคเยอะเกิน

ในปัจจุบันทางองค์กรเกี่ยวกับเภสัชกรรมได้พัฒนายาสำหรับการรักษาโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ซึ่งยาเหล่านี้อาจจะเป็นยาสามัญประจำบ้าน อย่างไรก็ตามการใช้ยาเหล่านี้จะต้องได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกร เพื่อให้การใช้ยานั้นปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วันนี้จะมาบอกถึงยาที่ไม่ควรบริโภคเยอะเกิน ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายได้

1.ยาปฏิชีวนะก่อนทันตกรรม (Antibiotics Before Dental Procedures)

ก่อนการทำทันตกรรมจะมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (Antibiotic prophylaxis) แต่ก็ยังใม่มีการยืนยันว่าการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนทำทันตกรรมจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะก่อนทันตกรรมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษาและดูเป็นกรณี-กรณีไป

2.ยาระบายประเภททำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (stool softeners)

ผู้ใหญ่ที่มีอาหารท้องผูกนั้นควรรับประทานยาระบายประเภททำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Docusate) วันละ 100กรัม/วันเท่านั้น แต่ยานี้ในปัจจุบันทีการใข้เกินควรจำเป็นขึ้นเรื่อยๆ งยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดออกมากล่าวอย่างชัดเจนว่ายานั้นมีประสิทธิภาพแบบที่ว่าไว้จริง ดังนั้นสำหรับการใช้ยาตัวนี้จะต้องได้รับการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

3.ยานอนหลับ/ยากล่อมประสาท (Benzodiazepines/Z Drug)

สภาวการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้คนมีเรื่องให้เครียดมากขึ้น แล้วอาการนอนไม่หลับก็จะตาม ทำให้ผู้คนต่างมองหาตัวช่วยที่จะให้นอนหลับได้ง่าย นั่นคือ ยานอนหลับต่การใช้ยากลุ่ม Z – zolpidem, zaleplon และ eszopliclone เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งยังให้ผลลัพธ์ในช่วงเวลาระยะสั้นๆ เท่านั้น รวมถึงก่อให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา กล่าวคือ มีความเสี่ยงจะล้มง่าย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าการใช้ยา Benzodiazepine นั้นเชื่อมโยงกับการเกิดโรคสมองเสื่อมอีกด้วย

4.กลุ่มยาที่ใช้ในการลดความดันโลหิต (Beta-Blockers)

เบต้า-บล็อกเกอร์ หรือยาลดความดันโลหิต ยังไม่งานศึกษาชิ้นใดออกมาเปิดเผยว่า การใช้ยาเบต้า-บล็อกเกอร์ต่อเนื่องเกิน 3 ปีนั้นส่งผลเช่นไร แต่หลังจากมีการพบว่าวิธีรักษาด้วยการเปิดหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วย (reperfusion therapy) นั้นให้ผลดีกว่าและเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น หลายภาคส่วนก็ออกมาต้องคำถามถึงคุณประโยชน์จากการใช้ยาดังกล่าว ทั้งชี้ว่าเบต้า-บล็อกเกอร์ให้ประสิทธิภาพได้ไม่เท่ากับสารต้านความดันเลือดสูง (Antihypertensive agents) หรือการรักษาด้วยทางเลือกอื่นๆ สำหรับผู้สูงอายุ

5.ยารักษาอาการแสบร้อนที่หน้าอก (Proton Pump Inhibitors: PPI)

มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ถูกสั่งจ่ายยา PPI อย่างไม่จำเป็น เช่น อาการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากภาวะเครียด (stress ulcer prophylaxis) หรืออาการปวดท้องอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราการเสียชีวิตของผู้ใช้ยา PPI ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ป่วยบางคนจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวในระยะยาว เช่น ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน หรือผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs)

Tags: