ยาแก้ไอสำหรับเด็ก

เทคนิคดูแลเด็กและเตรียมยาแก้ไอสำหรับเด็ก เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยจนลูกน้อยปรับตัวไม่ทัน

            เมื่อเข้าสู่หน้าฝน สภาพอากาศของประเทศไทยก็เริ่มแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว หรือบางครั้งก็ชื้นหนัก จากการฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง

            ซึ่งสภาพอากาศแบบนี้ นอกจากจะทำให้หลายคนรำคาญใจแล้ว ยังทำให้เป็นไข้หวัดได้ง่ายๆ อีกด้วย โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ เพราะในช่วงที่อากาศเปลี่ยน จะมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนมาในอากาศด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไข้หวัด

            ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถดูแลเด็กๆ ในบ้าน ให้รอดพ้นจากการเป็นไข้หวัด วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

1. ใช้ยาลดไข้และยาแก้ไอสำหรับเด็กให้ถูกกับโรค

            ส่วนใหญ่แล้ว อาการไข้หวัดของเด็กเล็ก มักจะมาพร้อมอาการตัวร้อน และไอ เพราะร่างกายเกิดการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และพยายามตอบสนองต่อเชื้อโรคนั้นๆ 

            ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบรรเทาอาการทุกอย่างให้ทุเลาลงได้ จนหายดีได้ในที่สุด ก็คือ “ยาลดไข้” และ “ยาแก้ไอสำหรับเด็ก” โดยเลือกใช้ยาที่ถูกกับโรค ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

ยาลดไข้

            เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ให้ใช้ยา paracetamol ในขนาด 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง เวลามีไข้ วันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง หรือใช้ยาปริมาณสูงสุด 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน

หมายเหตุ สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณยาได้ตามคำแนะนำของแพทย์

ยาแก้ไอสำหรับเด็ก

            ก่อนจะให้เด็กทานยาแก้ไอสำหรับเด็ก ควรสังเกต หรือตรวจสอบก่อนว่าเด็กไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ เพราะการไอแต่ละแบบจะใช้ยาแก้ไอสำหรับเด็กที่ต่างกันไป

            โดยเด็กที่ไอแห้ง สามารถทานยาแก้ไอประเภทกดอาการไอได้ เช่น เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) โคเดนอีน (Codeine) เป็นต้น แต่ข้อควรระวังคือ ยาแก้ไอกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง เช่น คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ฯลฯ

            ส่วนเด็กที่ไอแบบมีเสมหะ ควรใช้ยาแก้ไอที่มีคุณสมบัติช่วยละลายเสมหะ อย่างเช่น AMICOF (อามีคอฟ) ที่มีตัวยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัดเสมหะออกได้ง่ายขึ้น

            ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรเลือกใช้ยาลดไข้ และยาแก้ไอสำหรับเด็กในรูปแบบน้ำ ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และมีรสชาติใกล้เคียงผลไม้ เพราะจะช่วยให้เด็กไม่กลัวการทานยา กลืนยาได้ง่ายขึ้น รวมถึงเต็มใจที่จะทานยาต่อเนื่องจนกว่าจะหายดี

2. เช็ดตัวควบคู่ทานยาลดไข้และยาแก้ไอสำหรับเด็ก

          นอกจากนั้น เมื่อทานยาลดไข้และยาแก้ไอสำหรับเด็กแล้ว ผู้ปกครองควรเช็ดตัวให้เด็กควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายค่อยๆ ลดลง จนไม่เกิน 37.8 องศาเซลเซียส

            ซึ่งเทคนิคเช็ดตัวให้ได้ผลลัพธ์ดี คือ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณภูมิห้อง บิดให้หมาด แล้วเช็ดจากบนลงล่าง คือ เช็ดตั้งแต่บริเวณใบหน้า ไล่ลงมาจนถึงขา และเช็ดจากด้านนอกเข้ามาสู่ด้านใน คือ เช็ดจากปลายแขนมาสู่ต้นแขน และจากปลายขามาสู่ต้นขา อีกทั้งยังควรเช็ดตัวในลักษณะย้อนรูขุมขน เป็นเวลานานประมาณ 10-20 นาที เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนออกมาให้มากที่สุด และควรเปลี่ยนน้ำในอ่างบ่อยๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำให้คงที่

3. งดทานของเย็นและของทอด

          อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากให้การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ไอสำหรับเด็ก รวมถึงการเช็ดตัวให้เด็ก เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และทำให้เด็กหายจากอาการไข้หวัดได้อย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองควรให้เด็กเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภทผัด ทอด ที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร และงดการดื่มน้ำเย็น เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ และไอหนักขึ้นได้

          จากเทคนิคทั้งหมด สรุปได้ว่าการรักษาอาการไข้หวัดของเด็กไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามียาลดไข้ และยาแก้ไอสำหรับเด็กติดบ้านเอาไว้ รวมถึงให้ความสำคัญกับการเช็ดตัว และการทานอาหารควบคู่กันไปด้วย

Tags: